ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ แก้ไขได้ และวิธีดูแลรักษา

สาเหตุผมร่วงอันดับต้น ๆ คือ ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

ซึ่งแต่ละคนมีภาวะผมร่วง ผมบาง เกิดขึ้นได้ในช่วยอายุที่แตกต่างกัน แม้ปัญหาผมร่วงจากกรรมพันธุ์หรือฮอร์โมนยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น แต่ยิ่งปล่อยไว้นานขึ้นยิ่งเห็นได้ชัด และส่งผลต่อบุคลิกภาพ และขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม

โดยเฉพาะเพศชายมีปัจจัย 2 ปัจจัย คือ ฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน (Androgen) และกรรมพันธุ์ ที่ไปกระทบต่อกระบวนการสร้างเส้นผมบริเวณรากผม มีผลทำให้รากผมสร้างเส้นผมมีขนาดที่เล็กลง หรือขนาดของเส้นผมบางลง และยังพบว่าเส้นผมจะอยู่ในระยะเจริญเติบโต (Anagen phase)ได้สั้นลง และปล่อยไว้นานทำให้เกิดภาวะหัวล้าน

ส่วนเพศหญิงอาจจะมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลร่วมด้วย เช่น ฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงไป ระดับธาตุเหล็กสะสมในร่างกาย เป็นต้น

ปัจจุบันพบว่ามีอาการผมร่วงตอนอายุยังน้อย อายุ 10 ขวบก็สามารถพบอาการผมร่วงได้แล้ว อาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์นั้นบางคนอาจจะเกิดอาการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้สังเกต จนกระทั่งมีอาการร่วงและบางลงมาก จึงสังเกตเห็น และไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา แล้วแพทย์จะมีวิธีการรักษาอย่างไร

วิธีการรักษานั้นเมื่อคนไข้ได้ไปพบแพทย์ มีวิธีดังนี้

  1. ซักประวัติเกี่ยวกับการงอก การร่วงของเส้นผม ประวัติสุขภาพทั่วไป การเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่
  2. ตรวจร่างกาย  เพื่อหาสาเหตุที่อาจส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม
  3. วินิจฉัยว่าเกิดภาวะผมร่วง ผมบางจากกรรมพันธุ์หรือไม่โดย
    • กล้องกำลังขยายสูง (Dermatoscope) ส่องดูความหนาแน่นของผมซึ่งจะพบว่า ด้านหน้าและกลางศีรษะจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าผมบริเวณด้านหลัง
    • สังเกตว่าเส้นผมจะมีลักษณะเส้นเล็กสลับกับเส้นใหญ่
    • ทำการดึงเส้นผม ที่เรียกว่า Hair pulling test แล้วเส้นผมจะไม่หลุดติดมือออกมา
  4. ทำการรักษาโดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้วิธีการ ดังนี้
    • จ่ายยาทาโลชั่น 5%  ไมนอกซิดิล (Minoxidil) ทาให้ทั่วหนังศีรษะวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น โดยต้องทาอย่างสม่ำเสมอ
    • ให้ยารับประทานกลุ่มต้านฮอร์โมนเพศชาย เช่น ยา Finasteride เพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย ช่วยชะลอให้ผมร่วงช้าลง หรือร่วงน้อยลง ซึ่งยาในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่นสมรรถภาพทางเพศ หรืออารมณ์ทางเพศอาจน้อยลง เจ็บเต้านม เจ็บหน่วงอัณฑะ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ยาเหล่านี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
    • การฉีดพลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Rich Plasma/ PRP) โดยใช้เลือดของคนไข้มาปั่นให้ได้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นและมี Growth Factor สูงแล้วฉีดให้คนไข้  Growth Factor จะกระตุ้นให้ผมขึ้นได้ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้อาจเป็นการรักษาเสริมหลังจากที่คนไข้ได้รับประทานยาหรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผม ใช้เป็นวิธีการเสริมกับวิธีการอื่นซึ่งได้ผลน้อย เมื่อปลูกถ่ายแล้วก็ต้องรับประทานยาควบคู่กันไปด้วย
    • รักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ กระตุ้นรากผม เหมาะกับผู้ที่มีภาวะผมร่วง ผมบางทีมีอาการน้อย – ปานกลาง

การรักษาภาวะผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์นั้น อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนและได้ผลเต็มที่ใน 1 – 2 ปี การรักษาภาวะนี้ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและควรรีบรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ รวมทั้งควรดูแลคุณภาพเส้นผมจากภายใน ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดเครียด หรืออาจรับประทานอาหารเสริม เช่น น้ำงาดำ ซิงค์ วิตามิน E ที่ช่วยให้รากผม เส้นผม และหนังศีรษะแข็งแรงด้วยก็ได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save